วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการในการชนะมิตรและจูงใจผู้อื่น


หลักการในการชนะมิตรและจูงใจผู้อื่น

การเป็นบุคคลที่เป็นมิตรมากยิ่งขึ้น

1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ประณาม หรือบ่นว่า

2. ชื่นชมอีกฝ่ายหนึ่งอย่างซื่อตรงและจริงใจ

3. กระตุ้นผู้อื่นให้เกิดความต้องการที่กระตือรือร้น

4. ให้ความสนใจผู้อื่นอย่างจริงใจ

5. มีรอยยิ้มเสมอ

6. จำไว้ว่า ชื่อของคน แต่ละคน เป็นคำที่ไพเราะเสนาะหู และสำคัญที่สุดสำหรับบุคคลผู้นั้น

7. เป็นผู้ฟังที่ดี และสนับสนุนให้ผู้อื่นพูดถึงเรื่องของตัวเอง

8. พูดในสิ่งที่อีกฝ่ายสนใจ

9. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญ และทำเช่นนั้นด้วยความจริงใจ

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ศิลปะการจูงใจผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นคล้อยตาม

10. วิธีจัดการกับความโต้แย้งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการโต้แย้ง

11. เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น และไม่กล่าวว่าอีกฝ่ายผิด

12. ยอมรับความผิดในทันทีด้วยความสำนึก

13. เริ่มต้นด้วยความเป็นมิตร

14. ทำให้ผู้อื่นตอบตกลงว่า ใช่ครับ ใช่ค่ะ” ในทันที

15. ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูดมากกว่าตนเอง

16. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าความคิดนั้นๆเป็นของเขา

17. พยายามอย่างจริงใจ ในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ จากมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่ง

18. เข้าอกเข้าใจในความคิด และความปรารถนาของอีกฝ่ายหนึ่ง

19. อาศัยแรงจูงใจที่มีเกียรติ และที่คนผู้นั้นยกย่องในการชักจูง

20. นำเสนอความคิดของคุณผ่านการถ่ายทอดอย่างสร้างสรรค์

21. ให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ท้าทาย



การเป็นผู้นำ

22. เริ่มต้นด้วยการยกย่องและชื่นชมผู้อื่นอย่างจริงใจ

23. กล่าวถึงความผิดพลาดของผู้อื่นในทางอ้อม

24. พูดถึงความผิดพลาดในส่วนของตน ก่อนวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น

25. ใช้การตั้งคำถาม แทนการออกคำสั่งโดยตรง

26. ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหน้า

27. ชมเชยผู้อื่น เมื่อมีการพัฒนาแม้เพียงเล็กน้อย ด้วยความจริงใจ และชมอย่างเต็มที่

28. ยกย่องผู้อื่นให้มีภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้เขารักษาความดีนั้นไว้

29. ให้กำลังใจและทำให้ความผิดพลาด เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการแก้ไข

30. ทำให้อีกฝ่ายมีความสุขในการทำสิ่งที่คุณแนะนำ



หลักการพื้นฐานเพื่อก้าวข้ามความกังวล

1. จงอยู่กับปัจจุบัน (Day-tight compartment)

2. แนวทางสำหรับการเผชิญปัญหา

a. จงถามตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้น?”

b. เตรียมพร้อมรับความเป็นไปได้ที่แย่ที่สุด

c. พยายามปรับปรุงสิ่งที่แย่ที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้

3. จงเตือนตนเองถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์อันเกิดความกังวลของคุณ

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

เทคนิคพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ความกังวล

1. รวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมด

2. พิจารณาและชั่งน้ำหนักข้อเท็จจริงเหล่านั้นและตัดสินใจ

3. เมื่อตัดสินใจแล้ว ให้ดำเนินการในทันที

4. เขียนคำตอบของคำถาม ต่อไปนี้

a. ปัญหาที่เผชิญ คือ อะไร?

b. อะไร คือ สาเหตุของปัญหา?

c. แนวทางใด ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้?

d. แนวทางแก้ไขปัญหาใด ที่เหมาะสมที่สุด?



หยุดวิตกก่อนที่ความกังวลจะกระทบต่อชีวิตของคุณ

1. อย่าทำตัวให้ว่าง

2. อย่าสนใจสิ่งเล็กน้อยหรือเรื่องที่ไม่มีนัยสำคัญ

3. ใช้หลักเหตุผลทั่วไป ในการระงับความกังวลอย่างไร้เหตุผล

4. ยอมรับสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

5. กำหนดให้ชัดเจนว่า เราจะกังวลกับเรื่องหนึ่งๆ เพียงใด และอย่าไปเพิ่มความกังวล

ให้กับเรื่องนั้นอีก

6. อย่ากังวลกับอดีต

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

เก็บเกี่ยวทัศนคติที่นำมาซึ่งความสงบของจิตใจ และความสุข

1. เติมเต็มจิตใจของคุณด้วยความคิดเกี่ยวกับความสงบ ความกล้า สุขภาพ และความหวัง

2. เวร ต้องระงับ ด้วยการไม่จองเวร

3. เตรียมใจยอมรับ การที่ผู้อื่นไม่สำนึกถึงบุญคุณของคุณ

4. ตระหนักถึงความโชคดีของตน อย่านับแต่ปัญหาที่ต้องเผชิญ

5. อย่าเลียนแบบผู้อื่น

6. จงเรียนรู้และใช้ประโยชน์ จากความผิดพลาดของตน

7. สร้างความสุขให้แก่ผู้อื่น



วิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะความกังวล

1. สวดภาวนา

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

อย่ากังวลกับการวิพากษ์วิจารณ์

1. ตระหนักไว้เสมอว่า คำวิจารณ์ที่ไม่มีเหตุรองรับมักเป็นคำชมที่ถูกซ่อนเร้น

2. ทำทุกอย่างอย่างเต็มที่

3. วิเคราะห์ความผิดพลาดของตน และวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ป้องกันความเหนื่อยล้าและความกังวล และรักษาพลังงาน กำลังใจให้เข้มแข็ง

1. หยุดพัก ก่อนที่คุณจะเหนื่อยล้า

2. เรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย ในขณะทำงาน

3. รักษาสุขภาพและภาพลักษณ์ของคุณ โดยพักผ่อนที่บ้าน

4. นำนิสัยในการทำงานที่ดีทั้ง ประการ ไปปรับใช้

a. ให้มีเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังดำเนินการ อยู่บนโต๊ะทำงานของคุณ

b. ทำสิ่งต่างๆ ตามลำดับของความสำคัญ

c. เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาให้แก้ไขปัญหานั้นทันที หากมีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจ

d. เรียนรู้การจัดระเบียบ มอบหมายงาน และควบคุมงาน

5. กระตือรือร้นในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

6. อย่ากังวลกับ อาการนอนไม่หลับ

จาก forward mail
รศ.นายสัตวแพทย์พงฐ์ศักดิ์  ศรีธเนศชัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น